เสวนา ‘ความหลากหลายทางวัฒนธรรม ภาษา และชาติพันธุ์ของผู้คนในดินแดนไทย’
“ตอนที่เจอโครงกระดูกคนอายุ 13,000 ปี เป็นผู้หญิง แล้วเขาใช้เครื่องมือหินกะเทาะ แสดงว่าคนแรกเริ่มในพื้นที่ตรงนั้น มีวัฒนธรรมแบบนี้ ซึ่งยังสอดคล้องกับพื้นที่อื่นๆ เหมือนกัน อย่างเช่น ที่ภาคใต้ หรือกาญจนบุรี ก็มีแบบนี้ วัฒนธรรมแรกเริ่มนั้นมันเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิต แล้วเราก็ค้นพบร่องรอยของวัฒนธรรม ที่เรียกว่า ‘วัฒนธรรมโลงไม้’
ในการศึกษาเรื่องโลงไม้ ในด้านความก้าวหน้าทางวิทยาการการวิเคราะห์ เราทำงานบูรณาการกันกับนักวิทยาศาสตร์ ที่ทำเรื่อง DNA จากกระดูก จากการศึกษา DNA ช่วยยืนยันได้ว่า มันมีกลุ่มชาติพันธุ์ที่มาจากที่อื่น แล้วมาผสมกับคนพื้นเมืองท้องถิ่นดั้งเดิม แต่ในขณะเดียวกันคนพื้นถิ่นตรงนั้น ไม่ได้เกี่ยวข้องกับคนปัจจุบัน
ในหลักฐานที่เราเจอ จาก DNA 2,000 กว่าปีถึง 1,600 ที่ อ.ปางมะผ้า เราเจอ DNA ของคน
ที่เปรียบเทียบกับคนที่พูดภาษาปัจจุบัน พูดภาษาไดอิก ซึ่งคืออาจจะคือตระกูลของคนที่พูดไทย แต่ไม่รู้ว่าไทยอะไร ข้อมูลเหล่านี้เหมือนจิ๊กซอว์ที่ต่อภาพว่า ระลอกของคนที่เข้ามาในดินแดนประเทศไทยมีใครบ้าง และการที่เขาอยู่หรือไม่อยู่ ไม่เหมือนกับปัจจุบัน มันอาจจะคลี่คลายในเชิงพันธุกรรมได้”
สังคมซับซ้อนยิ่งมีการติดต่อกับคนมากขึ้น เราก็พบว่าผู้คนจะมีการผสมผสานกันมากขึ้น และ genetic นั้น ได้เปลี่ยนไป
“มันถูกตั้งคำถามว่าคนไทยมาจากไหน คนอาจจะมองว่าตลก เรายังคิดเรื่องแบบนี้อยู่อีกหรือ ไม่ใช่ เรากำลังตั้งโจทย์เก่าแต่คำตอบใหม่ และเป็นเรื่องที่สังคมร่วมสมัยอยากรู้…
เรายืนยันว่า ‘ไม่มีเชื้อชาติบริสุทธิ์’ แต่เราพบว่าบรรพบุรุษของคนที่อยู่ในดินแดนประเทศไทย มีความหลากหลาย ซึ่งความหลากหลาย เรามองหลายประเด็นมาก ทั้งในเรื่องของศาสนา วัฒนธรรม อัตลักษณ์ของคน ที่เขาบอกว่าจะ identify ตัวของเขาเองอย่างไร หรือแม้แต่ในเรื่องความเป็นชาติพันธุ์”…
อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : https://www.matichon.co.th/education/religious-cultural/news_4894941